โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (2)

         การก้าวพัฒนาไปสู่ CyberU เต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และจะทันเห็นในรัฐบาลอภิสิทธิ์ไหม ซึ่งก่อนหน้านี้เราคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ SchoolNet และ UniNet มาบ้างแต่ไม่รู้คืบหน้าไปถึงไหนรายงานวิจัยของสำนักงานและกรรมการการอุดมศึกษาชิ้นนี้ น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการศึกษาทุกระดับไม่ควรพลาด

3. การศึกษาข้อมูลด้านคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        ระบบคุณภาพในการจัดเก็บการศึกษาแบบอีเลิร์นนิ่ง (Quality Assurance in e-Learning) มีความเชื่อมั่นว่าการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้จะมีคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าการเรียนรู้แบบปัจจุบันได้ภายใน3 ปีข้างหน้า ต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน 5 ประเด็นหลัก คือ ผู้รับบริการ (นักศึกษา) พนักงานลูกจ้าง(คณาจารย์) การเข้าถึงบทเรียน การเงินและงบประมาณที่คุ้มค่า และประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

4. แนวโน้มการใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
        
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาจะเป็นระบบเปิด (Open Courseware & Open Education) มีข้อยืนยันจากกรณีศึกษาในประเทศอเมริกา อาร์เจนตินา โดยเฉพาะบราซิล และอินเดียใช้ซอฟต์แวร์โอเปนซอร์สเกือบทั้งหมด ซอฟต์แวร์โอเปนซอร์สหลายโปรแกรมมีคุณภาพดีหรือดีกว่าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เนื่องจากได้รับการพัฒนาจากคนกลุ่มใหญ่ทั่วโลก และมีแนวโน้มการแบ่งปันสื่อและทรัพยากรการศึกษาในระบบ e-Learning Sharable และ e-Learning Resources ลักษณะของสื่อการเรียนการสอนที่กำลังมีการพัฒนาจะอยู่ในรูปของ Repository ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในสากล
อุปกรณ์ไร้สายกำลังเป็นเทคโนโลยีทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น ระบบการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนจากครูผู้ป้อนความรู้ให้นักเรียนเป็นระบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนกำหนดการเรียนรู้เอง และเรียนรู้แบบ Project based มากขึ้น ลักษณะการเรียนรู้เปลี่ยนเป็นเน้นแสงและเสียง การรับความคิดเห็น การเรียนเป็นกลุ่มและการใช้ตรรกะของเกมมาปรับใช้การเรียนการสอน ดังที่ใช้คำทางภาษาเทคนิค คือ Web Generation 2.0 ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบร่วมกัน เล่าเรื่องจากโดยใช้ Social Software กำลังเป็นเรื่องแพร่หลาย และนำมาเป็นโอกาสในการจัดการความรู้ และจัดการศึกษาในแบบเว็บเบสด์ได้ดี

5. ความพร้อมในการใช้งาน e-Learning ของสถาบันศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
        สถาบันอุดมศึกษามีความพร้อมในการใช้ e-Learning มีนโยบายที่จะผลักดันการพัฒนาระบบ e-Learning ทั้งในรูปแบบของการจัดตั้งศูนย์บริการ e-Learning ของหน่วยงานสถาบันการศึกษาและทรัพยากรบุคคล นักออกแบบระบบการสอน(Instructional Designer) รวมไปถึงบุคลากรที่ดูแลระบบ e-Learning ของหน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีการให้บริการระบบ e-Learning ภายในหน่วยงานและมีระยะเวลาในการนำระบบมาใช้อยู่ในช่วปีแรกจนถึง 3 ปี มีการใช้ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบฟรีซอฟต์แวร์(Open Source) ในด้านผู้สอน เช่น ผู้สอนอาจยังให้ความสนใจไม่เท่าที่ควรในการผลิตเนื้อหา หรือการนำสื่อการสอนไว้ในระบบ e-Learning การทดแทนบุคลากรผู้ผลิตบทเรียน(Instructional Designer) และผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) รวมไปถึงทรัพยากรด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เช่น การขาดคอมพิวเตอร์แม่ข่าย รวมไปถึงค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในการพัฒนาระบบ e-Learning

6. การดำเนินการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยในระยะแรก(ปี พ.ศ.2548-2551)
        โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยมีการดำเนินการที่สอดรับนโยบายระดับประเทศ ระดับกระทรวง และระดับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีเป้าหมายสอดคล้องกับทุกระดับนโยบายและสามารดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายในระดับดีเป็นที่ยอมรับในสังคมการศึกษามีการขยายผลการดำเนินงานโดยการเผยแพร่วิธีการแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริงสู่บุคลากรทางการศึกษาทั้งอุดมศึกษาและอื่นๆ อย่างแพร่หลาย โดยการฝึกอบรม และสัมมนา มีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องแนวโน้มการเปิดเสรีการศึกษา(Open Education) ของสากล มีการเผยแพร่ระบบการบริหารจัดการที่สร้างขึ้นเอง ระบบต้นแบบการเรียนการสอน ระบบการสร้างสื่อที่มีคุณภาพสูงเผยแพร่ทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า
        โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยมีเป้าหมายสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลักของประเทศ และสร้างแนวร่วมต่างประเทศที่มีความเข้มแข็ง และโครงการสนับสนุนการแบ่งปันทรัพยากรในระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และระดับอื่นๆ เพื่อช่วยผลักดันการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยด้วยการเปิดใช้เนื้อหาที่มิได้เสียค่าใช้จ่าย และได้ขยายผลสู่การศึกษาระดับพื้นฐานด้วย ได้มีงานวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านระบบ และวิธีการดำเนินงาน ได้มีการทบทวนบทบาทและผลการดำเนินการโดยเชิญมหาวิทยาลัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ จากผลการสรุปประเด็นการวิเคราะห์ข้อเสนอจากเครือข่ายภูมิภาคเพื่อปรับบทบาท TCU มีข้อเสนอแนะจากเครือข่ายทั้ง9 ภูมิภาคเป็นประเด็นหลักสำคัญได้ 3 ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง ในแต่ละภูมิภาคควรจัดให้มีศูนย์ e-Learning ภายในมหาวิทยาลัยแม่ข่าย ประเด็นที่สองให้ TCU จัดทำระบบกลางในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ อาทิเช่น Contents Free Software โดยมหาวิทยาลัยแม่ข่ายมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ประเด็นที่สามการสร้างมาตรฐานคุณภาพสื่อ Online TCUของมหาวิทยาลัยแม่ข่ายจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นการจัดทำสื่อบทเรียนออนไลน์ในวิชาที่ทุกมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้งานร่วมกันได้ อาททิเช่น วิชาพื้นฐานต่างๆ

7. การนำเสนอรูปแบบโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยในรูปแบบการกระจายศูนย์สู่ภูมิภาค
        โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยยังคงเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนการใช้ไอซีทีในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศในการดำเนินงานในระยะที่1 (ปีพ.ศ.2548-2552)และระยะที่2(ปี พ.ศ.2552-2555)คือการสนับสนุน พัฒนาและช่วยเหลือ และร่วมมือ ในระยะที่ 2 (ปีพ.ศ. 2552-2555) และในระยะที่ 3 (ปีพ.ศ. 2556-2559) เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของโครงการไปเป็นหน่วยงานจัดสรรทรัพยากรควบคุมและติดตามให้เป็นไปตามเป้าหมายการจัดสรร โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยจะจัดตั้งศูนย์อีเลิร์นนิ่งภูมิภาคจำนวน9 แห่ง เพื่อให้การช่วยเหลือแก่สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นกลยุทธ์นี้จะทำให้เกิดความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนและความรับผิดชอบที่มากขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัย ในเคลือข่าย และชุมชนในท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน นอกจากนี้โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยยังคงดำเนินการในแผนการในการพัฒนาความสามารถของบุคลากรการศึกษาในการใช้ไอซีทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การดูแลระบบและการสนับสนุนต่างๆ เพื่อการพัฒนาศูนย์อีเลิร์นนิ่ง โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือชุมชนและองค์กรเอกชน เพื่อสร้างหลักสูตรอีเลิร์นนิ่งที่มีคุณภาพสำหรับการศึกษาทุกระดับซึ่งรวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต เน้นการใช้ Open Source Softwareและการดำเนิน การในรูปแบบOpen Education เพื่อขยายโอกาสการศึกษาสู่ทุกกลุ่มประชากรซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
       การบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายด้วยการผลักดันนโยบายผ่านกลไกการบริหารจัดการเครือข่ายโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยจะเป็นหนึ่งเครือข่าย C ที่เกิดจากความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคนั้น(เครือข่าย B) เครือข่าย C ซึ่งอยู่ใกล้ชิดชุมชนจะเป็นฝ่ายนำเสนอโครงการมายังเครือข่าย B ซึ่งมีองค์ประกอบคือ สภาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นนั้นที่จะคัดกรองและนำเสนอสู่ศูนย์กลาง คือ เครือข่าย A ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ตัวแทนจากทั้ง 9 ภูมิภาค ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการดังกล่าวจะมีความโปร่งใส เป็นธรรมเป็นไปตามความต้องการของชุมชนมีการกำกับ ประกันและติดตามจากส่วนกลาง คือ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และจากเครือข่ายภูมิภาคจะทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงประสิทธิภาพและคุณภาพ

 

ปีที่ 3 ฉบับที่ 68 วันที่ 1 พฤษภาคม – 15 พฤษภาคม 2552  11 อปท.นิวส์

 

_____________________________________________________________________________________________

 
 
  • เลิร์นนิงไทยไม่ขยับเพราะอ้างความไม่พร้อม ต้องเน้นกลยุทธ์เชิงรุกโดยทุกภาคส่วนร่วมมือกัน
  • อีเลิร์นนิ่งมันคืออะไรกันแน่?
  • อีเลิร์นนิง คอร์สแวร์ ไม่น่าสนใจและไม่อยากเรียน เกิดจากสาเหตุใด??
  • การพัฒนา อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ ที่น่าสนใจและอยากเรียน
  • โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (2)
  • ทำไมต้องเขียน Script & Board เพื่อผลิต e-Learning Courseware?
  • ระบบบริหารการจัดการ อี - เลิร์นนิ่ง (LMS) ที่ดีควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? (ตอนที่ 1)
  •  

       
     

    @ 2011 Data e-Learning Company Limited. All Rights Reserved 
     

    Web Page Visitor Counter