อีเลิร์นนิ่งมันคืออะไรกันแน่?!

       จากฉบับที่ผ่านมาเราได้พูดถึง หัวข้อบทบาท อีเลิร์นนิ่งกับการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันไปแล้ว แต่ความหมายของมันแล้วจริงๆ อีเลิร์นนิ่ง(e-Learning) คืออะไรกันแน่
       ถ้าแปลตามภาษาอังกฤษก็คือ e-Learning เกิดจากคำศัพท์ 2 คำที่มีความหมายในตัวเองได้แก่ E ซึ่งมาจากอิเล็กทรอนิกส์(Electronic) ที่มีความหมายในเชิงของความรวดเร็วโดยทำงานในระบบอัตโนมัติ ส่วนคำว่าเลิร์นนิ่ง (Learning) ซึ่งหมายถึงการเรียน การเรียนรู้หรือการเรียนการสอน เมื่อผสมกันจึงเป็น Electronic  Learning หรือ E-Learningหมายถึงการเรียนรู้ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คือกระบวนการเรียนรู้ทางไกลอย่างอัตโนมัติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(Electronic Media)
       ฉบับนี้เราจะขอยกผลงานวิจัย  ของคุณพิภัช ดวงคำสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมอีเลิร์นนิ่งที่ได้ทำการวิจัยหลายปีที่ผ่านมาเพื่อหาข้อสรุปว่ามันคืออะไรกันแน่เพราะแต่ละท่าน ก็ให้ความหมายแตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง

อีเลิร์นนิ่งมันคืออะไรกันแน่
       ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย กล่าวว่าอีเลิร์นนิ่งที่สมบูรณ์แบบจะมีองค์ประกอบ 4 ส่วนจะเรียกว่า (4-Tier)        จึงจะเรียกว่าอีเลิร์นนิ่งเต็มรูปแบบดังแสดงตามรูปภาพจะมีองค์ประกอบอยู่ 4 องค์ประกอบกลักๆ คือ

องค์ประกอบระดับที่1 การเรียนด้วยสื่อสารสนเทศ (Information) โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
       บทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายอิทราเน็ตสำหรับให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง ได้แก่
       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บซึ่งเป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการพัฒนามาตามลำดับขั้น เช่น  WBT (Web-Based Instruction),WBT (Web-Based Training) เป็นต้น
      หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่คงรูปแบบของความเป็นหนังสือครบถ้วนแต่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมAcrobat Reader อ่านไฟล์เอกสาร pdf เป็นต้น
      เอกสารคำสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lecture Notes) เป็นไฟล์เอกสารทั่วไปในรูปแบบของเอกสารคำสอนหรือคำบรรยาย เช่น ไฟล์ doc,ไฟล์ html,ไฟล์ power point เป็นต้น
      วีดิทัศน์และเสียงดิจิตอลเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่รูปของวีดีทัศน์และเสียงดิจิตอล เช่น การใช้โปรแกรม RealVideo ดูภาพวีดีทัศน์ และ RealAudio ฟังเสียง flash playerเป็นต้น
      เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย (Hypertext and Hypermedia Document) ได้แก่ ไฟล์เอกสารและไฟล์ภาพประกอบเสียงในรูปแบบของ html ที่ปรากฏอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

องค์ประกอบระดับที่2 การเรียนผ่านการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) โดยผ่านการใช้สื่อประสม (Multimedia)
      คือกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่นระบบบริหารจัดการ ซีดีรอม เครือข่ายอินทราเน็ต เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่เนื้อหาวิชาจะนำสื่อประสมมาใช้มากขึ้น (Multimedia) อยู่ในรูปแบบเกม (Game) สถานการณ์จำลอง (Simulation) การแสดงละคร (Dramatization) และการสาธิต (Demonstration) นิรนัย (Deduction) อุปนัย (Induction) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) กรณีศึกษา (Case Study) ศูนย์การเรียน (Learning Center) หรือใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) เป็นต้น

องค์ประกอบระดับที่3 กลยุทธ์การเรียนผ่านการโต้ตอบ (Collaboration) หรือการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง (LVC)
      คือเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทันทีหรือแบบเรียลไทม์ผ่านทางเครื่องมือติดต่อต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัด (Learning Management System, LMS) เมสเซสบอร์ด หรือ ผ่านdiscussion group ใช้เสียง วีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ การใช้บรรยายการสอน (Lecturs) เป็นส่วนของการบรรยาย เนื้อหาบทเรียนให้กับผู้เรียนโดยตรง นอกเหนือจากการศึกษาด้วยตนเองโดยใช้วิธีการแบบออนไลน์ผ่านช่องทางโทรคมนาคมได้แก่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบดาวเทียม หรือระบบโทรทัศน์ตามสาย (Cable TV) และ ลีเมล์เป็นต้น

องค์ประกอบระดับที่ 4 กลยุทธ์การแสดงจริง (Collocation) หรือการมาพบหน้ากันอยู่ในห้องเรียนทั่วไป
      คือการมาพบเพื่อรับฟังบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ในรูปแบบการบรรยายสรุป(Lecture) การสาธิต (Demonstration) การทดลอง (Experiment) ออกไปทัศนศึกษา (Field Trip) และการอภิปรายกลุ่ม (Small Group Discussion) เป็นต้น
      ดังนั้นอีเลิร์นนิ่งต้องประกอบให้ครบทั้ง 4 องค์ประกอบจึงเป็นอีเลิร์นนิ่งเต็มรูปแบบหรือครบวงจร () ต่อไปหากใครถามก็สามารถอธิบายตามนี้ได้ หากเราสังเกตบ้านเรา เรื่องของอีเลิร์นนิ่งจะให้ความสนใจกันกับระบบบริหารจัดการ หรือ LMS กันมากกว่าสนใจเนื้อหา (content)
      ทางเราขอแนะนำทุกคนที่อยากให้อีเลิร์นิ่ง ก้าวหน้ากันต่อไป ต้องหันมาสนใจกับเรื่องของ เนื้อหากันมากๆ จะสร้างรายได้ให้กับประเทศกับตนเองต้องมาปลุกกระแส ค้นหาวิธีการเขียน เนื้อหา น่าสนใจมากกว่า
      ในโอกาสต่อไปเราจะมาคุยกันว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้  อีเลิร์นนิ่ง ไม่น่าสนใจและไม่อยากเรียนหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของการผลิตบทเรียนออนไลน์หรือ  e-Learning Courseware  ที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง นั่นก็คือ การเขียน   Script & Story Board    หรือการสคริปต์ลำดับเนื้อเรื่องเพื่อใช้ในการสร้าง e-Learning Courseware  ซึ่งหลายคนมองข้ามไปและไม่ได้ใส่ใจเลยด้วยซ้ำ แต่แท้ที่จริงส่วนนี้จะเป็นเสมือนแผนที่หรือใบเบิกทางเลยทีเดียว

 

ปีที่ 3 ฉบับที่ 64 วันที่ 1 มีนาคม – 15 มีนาคม 2552 12 อปท.นิวส์

 

_____________________________________________________________________________________________

 
 
  • เลิร์นนิงไทยไม่ขยับเพราะอ้างความไม่พร้อม ต้องเน้นกลยุทธ์เชิงรุกโดยทุกภาคส่วนร่วมมือกัน
  • อีเลิร์นนิ่งมันคืออะไรกันแน่?
  • อีเลิร์นนิง คอร์สแวร์ ไม่น่าสนใจและไม่อยากเรียน เกิดจากสาเหตุใด??
  • การพัฒนา อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ ที่น่าสนใจและอยากเรียน
  • โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (2)
  • ทำไมต้องเขียน Script & Board เพื่อผลิต e-Learning Courseware?
  • ระบบบริหารการจัดการ อี - เลิร์นนิ่ง (LMS) ที่ดีควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? (ตอนที่ 1)
  •  

       
     

    @ 2011 Data e-Learning Company Limited. All Rights Reserved 
     

    Web Page Visitor Counter